วิธีการบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 

ในการบัดกรีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนวิธีการดังแสดงในภาพที่5 โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. น้ำหัวแร้งวางไว้ตรงบริเวณ Pad ทองแดงบนแผงวงจร โดยให้สัมผัสทั้ง Padทองแดง และขาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประมาณ 1 – 2 วินาที
  2. นำตะกั่วใส่ให้เต็ม Pad ทองแดง โดยเน้นให้โดนบริเวณ Pad ทองแดงและขาอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ไม่เน้นให้โดนที่หัวแร้ง
  3. เมื่อตะกั่วเต็ม Pad แล้ว ให้ยกเส้นตะกั่วออก จึงยกหัวแรงออกตามมา
  4. ปล่อยให้เย็นตามปกติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเป่าใด ๆ
  5. ในการบัดกรีนี้สามารถใช้ฟลักซ์ครีม (flux cream) ช่วยในการบัดกรีได้โดยใช้เพียงเล็กน้อยที่รอยบัดกรี โดยจะช่วยให้บัดกรีได้ง่ายขึ้น
  6. การทำความสะอาดหัวแร้งโดยการใช้ฝอยทองเหลืองดังแสดงในภาพ ในกรณีที่มีตะกั่วติดทีหัวแร้ง ห้ามนำหัวแร้งไปจิ้มโดยตรงกับครีมฟลักซ์ หรือครีมน้ำมันสน เนื่องจากจะทำให้ปลายหัวแร้งเสื่อมสภาพเร็ว
  7. การแก้ไขการบัดกรีผิด ให้ใช้หัวแร้งจี้ที่ตะกั่วจุดที่ต้องการจะนำออก และใช้ที่ดูดตะกั่วดูดออก

เมื่อบัดกรีเรียบร้อยแล้วให้สังเกตรอยบัดกรีว่าสมบูรณ์หรือไม่ โดยดูตามแผนผังในภาพที่  5 ซึ่งจะมีกรณีดังนี้

  • การใส่ตะกั่วในปริมาณพอดี คือใส่เต็ม Pad และเชื่อมต่อกับขาอุปกรณ์ได้อย่างสมบูรณ์
  • รอยบัดกรีที่ใส่ตะกั่วมากเกินไป อาจก่อให้เกิดการช๊อตของวงจรได้ ควรใช้ที่ดูดตะกั่วดูดออก
  • รอยบัดกรีที่ใส่ตะกั่วน้อยเกินไป อาจะทำให้การเชื่อมต่อทางไฟฟ้าไม่สมบรูณ์ แก้ไขโดยการใส่ตะกั่วเพิ่ม
  • รอยบัดกรีที่ตะกั่วไม่ติด Pad เป็น Pad รอยหลงเหลืออยู่ เกิดจากการหัวแร้งไม่โดน Pad แต่โดนขาอุปกรณ์อย่างเดียวในเวลาบัดกรี แก้โดยการใช้หัวแร้งวางไว้ให้ความร้อนโดนทั้งขาอุปกรณ์และ Pad
  • รอยบัดกรีที่ตะกั่วมีสีขุ่น ไม่ใส เกิดจากการแช่หัวแร้งนานเกินไป สามารถแก้ไขได้โดยการใช้ฟลักครีม (flux cream) ป้ายเล็กน้อยลงบนรอยบัดกรี แล้วใช้ตะกั่วให้ความร้อนซ้ำ
  • รอยบัดกรีที่มีตะกั่วเชื่อมต่อระหว่าง 2 ขา หมายถึงวงจรช็อต อาจทำให้วงจรเสียหายได้ ให้แก้ไขโดยใช้ที่ดูดตะกั่วดูดออก

ขอบคุณเนื้อหาจาก: FABLAB THAILAND
ลิงค์ต้นฉบับ: https://fablabthailand.com/content/howtosoldering/

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

Leave a Comment